Hot Products

วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Fuji Electric Breakers - Special Discount


สำหรับโปรโมชั่นใหม่ล่าสุด Fuji Electric Breakers - Special Discount เป็นการเอาใจลูกค้ากับส่วนลดกว่า 50% สินค้าประเภท Breakers โดยมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้

Special Discount : BW Series
Model
Price List (บาท)
Special Price (บาท)
BW102SO-100,2P
2,800.00
957.00
BW102SO-50,2P
2,800.00
957.00
BW102SO-60,2P
2,800.00
957.00
BW102SO-75,2P
2,800.00
957.00
BW102SO-80,2P
2,800.00
957.00
BW103EO-40,3P
3,500.00
1,197.00
BW103SO-100,3P
3,960.00
1,354.00
BW103SO-15,3P
3,960.00
1,354.00
BW103SO-20,3P
3,960.00
1,354.00
BW103SO-75,3P
3,960.00
1,354.00
BW103SO-80,3P
3,960.00
1,354.00
BW163SO-150,3P
9,000.00
3,078.00
BW163SO-160,3P
9,000.00
3,078.00
BW253EO-175,3P
6,450.00
2,205.00
BW253EO-200,3P
6,450.00
2,205.00
BW253EO-250,3P
6,450.00
2,205.00
BW253SO-175,3P
9,270.00
3,170.00
BW253SO-200,3P
9,270.00
3,170.00
BW253SO-225,3P
9,270.00
3,170.00

Special Discount : EA Series
Model
Price List (บาท)
Special price (บาท)
EA102C-CE,2P,100A
2,260.00
772.00
EA102C-CE,2P,50A
2,260.00
772.00
EA102C-CE,2P,60A
2,260.00
772.00
EA102C-CE,2P,75A
2,260.00
772.00
EA103C-CE,3P,75A
3,040.00
1,039.00
EA103C-CE,3P,100A
3,040.00
1,039.00
EA32AC-CE,2P,15A
600.00
205.00
EA32AC-CE,2P,20A
600.00
205.00
EA32AC-CE,2P,30A
600.00
205.00
EA32AC-CE,2P,3A
600.00
205.00
EA33AC-CE,3P,3A
860.00
294.00
EA52C-CE,2P,10A
1,260.00
430.00
EA52C-CE,2P,15A
1,260.00
430.00
EA52C-CE,2P,30A
1,260.00
430.00
EA52C-CE,2P,40A
1,260.00
430.00
EA52C-CE,2P,50A
1,260.00
430.00
EA52C-CE,2P,5A
1,260.00
430.00
EA53C-CE,3P,10A
1,720.00
588.00
EA53C-CE,3P,15A
1,720.00
588.00
EA53C-CE,3P,20A
1,720.00
588.00
EA53C-CE,3P,5A
1,720.00
588.00
EA62C-CE,2P,60A
1,390.00
475.00
EA63C-CE,3P,60A
1,940.00
663.00
EA803C-CE,3P,700A
36,700.00
12,511.00

Special Discount : SA Series
Model
Price List
Special price
SA102C-CE,2P,20A
3,490.00
1,193.00
SA102C-CE,2P,50A
3,490.00
1,193.00
SA102C-CE,2P,60A
3,490.00
1,193.00
SA102C-CE,2P,75A
3,490.00
1,193.00
SA102RC-CE,2P,100A
4,850.00
1,685.00
SA102RC-CE,2P,50A
4,850.00
1,685.00
SA102RC-CE,2P,60A
4,850.00
1,685.00
SA102RC-CE,2P,75A
4,850.00
1,685.00
SA103BA,3P,15A
6,760.00
2,311.00
SA103BA,3P,50A
6,760.00
2,311.00
SA103BA,3P,75A
6,760.00
2,311.00
SA103C-CE,3P,15A
3,960.00
1,354.00
SA103C-CE,3P,20A
3,960.00
1,354.00
SA103C-CE,3P,30A
3,960.00
1,354.00
SA103C-CE,3P,40A
3,960.00
1,354.00
SA103C-CE,3P,60A
3,960.00
1,354.00
SA103RC-CE,3P,15A
6,760.00
2,311.00
SA103RC-CE,3P,20A
6,760.00
2,311.00
SA103RC-CE,3P,40A
6,760.00
2,311.00
SA103RC-CE,3P,50A
6,760.00
2,311.00
SA103RC-CE,3P,60A
6,760.00
2,311.00
SA203RC-CE,3P,200A
10,300.00
3,522.00
SA203RC-CE, 3P,150A
10,300.00
3,522.00
SA203RC-CE,3P,175A
10,300.00
3,522.00
SA32C-CE,2P,15A
1,180.00
403.00
SA32C-CE,2P,20A
1,180.00
403.00
SA32C-CE,2P,30A
1,180.00
403.00
SA33C-CE,3P,15A
1,700.00
581.00
SA33C-CE,3P,20A
1,700.00
581.00
SA403C-CE,3P,250A
8,700.00
2,975.00
SA403C-CE,3P,350A
8,700.00
2,975.00
SA403RC-CE,3P,350A
16,500.00
5,643.00
SA52C-CE,2P,10A
1,430.00
489.00
SA52C-CE,2P,15A
1,430.00
489.00
SA52C-CE,2P,30A
1,430.00
489.00
SA52C-CE,2P,40A
1,430.00
489.00
SA52C-CE,2P,50A
1,430.00
489.00
SA53C-CE,3P,10A
2,040.00
697.00
SA53C-CE,3P,15A
2,040.00
697.00
SA53C-CE,3P,20A
2,040.00
697.00
SA53C-CE,3P,40A
2,040.00
697.00
SA53C-CE,3P,5A
2,100.00
718.00
SA53RC-CE,3P,10A
2,100.00
718.00
SA53RC-CE,3P,15A
2,100.00
718.00
SA53RC-CE,3P,40A
2,100.00
718.00
SA603RC-CE,3P,600A
24,400.00
8,344.00
SA62C-CE,2P,60A
1,540.00
526.00
SA63RC-CE,3P,60A
2,100.00
718.00
SA803RC-CE,3P,700A
38,700.00
13,225.00

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่...
เบอร์ฝ่ายการตลาด HOT LINE 085-8040901
Website : www.stcontrol.com
Email : worakanya@stcontrol.com

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การนำอินเวอร์เตอร์ (Inverter) มาประยุกต์ใช้กับมอเตอร์ (Motor)


การนำอินเวอร์เตอร์ (Inverter) มาประยุกต์ใช้งานร่วมกับระบบควบคุมมอเตอร์ (Motor Control) ในโรงงานอุตสาหกรรม

มอเตอร์ (Motor) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ ใช้ในการแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล โดยนำพลังงานที่ได้นี้ไปขับเคลื่อนเครื่องจักรอื่นๆ ต่อไป โดยความเร็วของมอเตอร์ สามารถกำหนดได้โดย
  1. แรงบิดของโหลด
  2. จำนวนขั้วของมอเตอร์
  3. ความถี่ของแหล่งจ่ายไฟที่ใช้กับมอเตอร์
  4. แรงดันที่จ่ายให้กับมอเตอร์
ความเร็วของมอเตอร์สามารถหาได้จากสูตร

N = { [ 120 * ความถี่ f (Hz) ] / จำนวนขั้ว P } * ( 1-S )

โดยเทอม 1-S กำหนดโดยโหลด

จากสูตรข้างต้น พบว่าถ้าความถี่ของแหล่งจ่ายไฟเปลี่ยนแปลงไป จะมีผลทำให้มอเตอร์มีความเร็วเปลี่ยนแปลงด้วย แต่เมื่อทำการเปลี่ยนความถี่ โดยให้แรงดันคงที่ จะมีผลทำให้เกิดฟลักส์แม่เหล็กเพิ่มมากขึ้นจนอิ่มตัว ซึ่งอาจทำให้มอเตอร์ร้อนจนเกิดความเสียหายได้ ดังนั้น จึงต้องทำการเปลี่ยนแรงดันควบคู่ไปกับความถี่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงความถี่ของแหล่งจ่ายไฟ สามารถทำได้โดยการใช้อินเวอร์เตอร์ ซึ่งมีวงจรการทำงานของอินเวอร์เตอร์

รูปแสดงแสดงการเปลี่ยนความถี่โดยใช้อินเวอร์เตอร์

อินเวอร์เตอร์ (Inverter) จะเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ โดยจะนำไฟฟ้ากระแสตรงต่อเข้ากับสวิตช์ 4 ตัว และทำการเปิด-ปิด สวิตช์ทั้ง 4 ตัว เป็นจังหวะทำให้เกิดไฟฟ้ากระแสสลับ

รูปแสดงจังหวะการเกิดไฟฟ้ากระแสสลับ
จากรูป
  • เมื่อปิดสวิตช์ S1 และ S4 ทำให้เกิดกระแสไหลในทิศทางจากจุด A ไปยังจุด B
  • เมื่อปิดสวิตช์ S2 และ S3 ทำให้เกิดกระแสไหลในทิศทางจากจุด B ไปยังจุด A
ดังนั้น ถ้าเปิด-ปิดสวิตช์ S1 และ S4 สลับกับสวิตช์ S2 และ S3 จะทำให้เกิดไฟฟ้ากระแสสลับขึ้น และถ้ามีการควบคุมเวลาในการเปิด-ปิดสวิตช์ที่ต่างกัน ก็จะได้ไฟฟ้ากระแสสลับที่มีความถี่แตกต่างกันไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว อินเวอร์เตอร์จะใช้ทรานซิสเตอร์แทนสวิตช์ เนื่องจากทรานซิสเตอร์สามารถเปิด-ปิดได้ในความถี่ที่สูงกว่าสวิตช์

รูปแสดงการใช้ทรานซิสเตอร์แทนสวิตซ์ในวงจรการทำงานอินเวอร์เตอร์

การเปลี่ยนแรงดันตามความถี่ของอินเวอร์เตอร์
  1. วิธีแปรขนาดแรงดันของไฟตรง (PAM : Pulse Amplitute Modulation)
  2. วิธีแปรความกว้างของพัลส์ที่ใช้เปิด-ปิดทรานซิสเตอร์ (PWM : Pulse Width Modulation) ได้แก่ Square Wave และ Sine Wave

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ ::

แผนก Automation : บริษัท เอส.ที.คอนโทรล จำกัด
Tel. (02) 717 3455, 319 1400 
Fax : (02) 319 1800
Website : http://www.stcontrol.com

วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อินเวอร์เตอร์ (Inverter) คืออะไร

อินเวอร์เตอร์ (Inverter) คืออะไร
อินเวอร์เตอร์ (Inverter)  คือ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนความเร็วรอบของ 3-Phase Squirrel-Cage Induction Motor โดยวิธีการปรับแรงดันและความถี่ไฟฟ้าให้เหมาะสมกับมอเตอร์


บางครั้งจะเรียกว่า "V/F Control" อินเวอร์เตอร์ (Inverter) ยังมีชื่อเรียกอีกหลายอย่างเช่น
  • VSD   : Variable Speed Drives
  • VVVF : Variable Voltage Variable Frequency
  • VC     : Vector Control
หลักการทำงานของอินเวอร์เตอร์
อินเวอร์เตอร์ (Inverter) จะแปลงไฟกระแสสลับ (AC) จากแหล่งจ่ายไฟทั่วไปที่มีแรงดันและความถี่คงที่ ให้เป็นไฟกระแสตรง (DC) โดยวงจรคอนเวอร์เตอร์ ( Converter Circuit ) จากนั้นไฟกระแสตรงจะถูกแปลงเป็นไฟกระแสสลับที่สามารถปรับขนาดแรงดันและความ ถี่ได้โดยวงจรอินเวอร์เตอร์ (Inverter Circuit) วงจรทั้งสองนี้จะเป็นวงจรหลักที่ทำหน้าที่แปลงรูปคลื่น และผ่านพลังงานของอินเวอร์เตอร์
โดยทั่วไปแหล่งจ่ายไฟกระแสสลับมีรูปคลื่นซายน์ แต่เอาท์พุตของอินเวอร์เตอร์จะมีรูปคลื่นแตกต่างจากรูปซายน์ นอกจากนั้นยังมีชุดวงจรควบคุม (Control Circuit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของวงจรคอนเวอร์เตอร์และวงอินเวอร์เตอร์ให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของ 3-phase Induction motor
รูปแสดงหลักการทำงานของอินเวอร์เตอร์

โครงสร้างภายในของอินเวอร์เตอร์
  1. ชุดคอนเวอร์เตอร์ (Converter Circuit) ซึ่งทำหน้าที่ แปลงไฟสลับจากแหล่งจ่ายไฟ  AC. power supply (50 Hz) ให้เป็นไฟตรง (DC Voltage)
  2. ชุดอินเวอร์เตอร์ (Inverter Circuit) ซึ่งทำหน้าที่ แปลงไฟตรง (DC Voltage)  ให้เป็นไฟสลับ (AC Voltage) ที่สามารถเปลี่ยนแปลงแรงดันและความถี่ได้
  3. ชุดวงจรควบคุม (Control Circuit) ซึ่งทำหน้าที่ ควบคุมการทำงานของชุดคอนเวอร์เตอร์ และชุดอินเวอร์เตอร์
 

รูปแสดงโครงสร้างภายในของอินเวอร์เตอร์ (Inverter)
 
ตัวอย่างการทำงานของอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ที่พบเห็นได้ในปัจจุบัน ได้แก่ การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อจ่ายไฟสำรอง หรือที่เรียกว่า UPS (Uninterruptible Power Supply) เพื่อแก้ปัญหาไฟเกิน, ไฟตก, ไฟดับ และคลื่นรบกวน ช่วยป้องกันการเกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า โดยไฟฟ้าที่สำรองไว้จะเก็บในแบตเตอรี่
ยกตัวอย่าง ถ้ากระแสไฟฟ้าดับ ระบบสำรองไฟจะสวิทช์มาใช้ไฟจากแบตเตอรี่โดยทันที ต่อจากนั้นไฟฟ้าซึ่งเป็นกระแสตรง จะเข้าสู่อินเวอร์เตอร์ ซึ่งจะเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงนั้นให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับที่มีความถี่คงที่ และถูกต้อง ไฟฟ้ากระแสสลับที่ออกมาจากอินเวอร์เตอร์ก็จะป้อนสู่เครื่องไฟฟ้าทั่วไป โดยที่ไฟกระแสสลับที่ได้ออกมาจะถูกนำไปป้อนกลับมาทำการเปรียบเทียบกับความ ถี่อ้างอิงค่าหนึ่ง แล้วนำผลจากการเปรียบเทียบไปควบคุมการกำเนิดความถี่ของอินเวอร์เตอร์เพื่อ ให้ได้ไฟฟ้ากระแสสลับที่มีความถี่คงที่และถูกต้อง ตามที่เครื่องใช้ไฟฟ้ากระแสสลับต้องการ
 

รูปแสดงกระบวนการทำงานของอินเวอร์เตอร์ในสภาวะการใช้ไฟสำรอง

อินเวอร์เตอร์ (Inverter) ถูกนำมาใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เช่น เครื่องปรับอากาศ, ตู้เย็น, โทรทัศน์ และระบบ เซอร์โวควบคุมมอเตอร์ (Servo Motor) เนื่องจากความต้องการลดการสูญเสียกำลังงานที่สูงโดยเฉพาะขณะเริ่มต้นทำงาน และจากการสูญเสียในแกนเหล็ก และในตัวขดลวด (สำหรับเครื่องเชื่อมแบบมือหมุน และมอเตอร์) ซึ่งการสูญเสียกำลังงานหรือค่าไฟฟ้าเป็นดังนี้คือ

เมื่อ เครื่องใช้ไฟฟ้าเริ่มทำงาน จะมีค่ากระแสเร่ิมทำงาน I (Start) สูงกว่า ขณะเดินปรกติถึง 4 – 6 เท่าตัว เช่น มอเตอร์เครื่องปรับอากาศ ที่มีขนาด 220 V ,1 A
Pnormal = 220V 1A = 220W
ขณะเริ่มต้นมอเตอร์หรือหม้อแปลงจะดึงกระแสเพื่อสร้างสนามแม่เหล็กอย่างน้อย 4 เท่าของขณะปกติ
Pstart = 220V (4 1A) = 880W
ทำให้ระบบเดิม ที่ไม่มีการใช้อินเวอร์เตอร์จะต้องเสียค่าไฟสูงมาก และทำให้ระดับของแรงดันไฟฟ้าในสายไม่เสถียร (Stable) รวมถึงทำให้เกิดแรงดันสไปค์ ขณะหยุดการทำงานซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเกิดการเสียหาย หรือบั่นทอนอายุการใช้งานให้สั้นลง

ตัวอย่างปัญหาและการแก้ไข
โดยนำอินเวอร์เตอร์ (Inverter) มาใช้งาน

การ ทำงานของเครื่องปรับอากาศ ระบบเดิมนั้นจะทำงานติดๆ ดับๆ อยู่บ่อยครั้ว ซึ่งสร้างปัญหากับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ อีกทั้งยังกินไฟสูง จึงได้มีการนำเอาระบบอินเวอร์เตอร์เข้ามาแก้ไข ทำให้มอเตอร์แอร์ทำงานต่อเนื่องไม่มีการติด-ดับ ดังเช่นในระบบเดิม ซึ่งจากการพิสูจน์แล้วพบว่า "การให้มอเตอร์ทำงานต่อเนื่อง จะช่วยประหยัดพลังงาน และค่าไฟฟ้าได้มากกว่าการหยุด และเริ่มเดินใหม่อย่างน้อย 1 เท่าตัวขึ้นไป" ซึ่งก็มีหลักการทำงาน ดังนี้ ขณะที่เข้าสู่สถานะการทำงานแล้ว ชุดอินเวอร์เตอร์จะสั่งให้มอเตอร์ทำงานมากขึ้น (หมุนเร็วขึ้น) โดยการเพิ่มความถี่หรือปรับเปลี่ยน Duty Cycle  และขณะสแตนบาย หรืออุณหภูมิคงที่ ระบบอินเวอร์เตอร์จะลดการทำงานของมอเตอร์ลง (หมุนช้าลง) แต่ไม่หยุดการทำงานของมอเตอร์ ซึ่งจะช่วยลดกำลังงานที่ใช้นั้นเอง

อินเวอร์เตอร์ได้นำไปใช้ในระบบงานต่างๆ เช่น
  1. ใช้เป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำรอง ที่เรียกว่า Stand by power supply หรือ Uninterruptible Power Supplies (UPS) เพื่อใช้ทดแทนในกรณีแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับหลักเกิดความขัดข้อง
  2. ใช้ควบคุมความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับโดยใชัหลักการควบคุมความถี่ ของแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ เพื่อต้องการให้แรงบิด (Torque) คงที่ทุกๆ ความเร็วที่เปลี่ยนแปลงไป
  3. ใช้แปลงไฟฟ้าจากระบบส่งกำลังไฟฟ้าแรงสูงชนิดไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ เพื่อบริการให้แก่ผู้ใช้
  4. ใช้ในระบบเตาถลุงเหล็กที่ใช้หลักการเหนี่ยวนำให้เกิดความร้อน (Induction heating) ซึ่งใช้แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับความถี่สูงในการทำงาน

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ ::

แผนก Automation : บริษัท เอส.ที.คอนโทรล จำกัด
Tel. (02) 717 3455, 319 1400 
Fax : (02) 319 1800
Website : http://www.stcontrol.com

วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ทรานสดิวเซอร์และเซนเซอร์ (Transducer & Sensor)


ทรานสดิวเซอร์ (Transducer) คือ อุปกรณ์แปลงข้อมูลหรือพลังงานรูปแบบต่าง ๆ ให้เป็นข้อมูลหรือพลังงานไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงาน รูปแบบหนึ่งเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง โดยที่ทรานสดิวเซอร์อาจรวมทั้งอุปกรณ์ตรวจจับและปรับแต่งสัญญาณ เช่น ทรานสดิวเซอร์ชั่งน้ำหนักจะหมายรวมทั้ง 4 ส่วนคือ ส่วนการตรวจจับ ส่วนปรับแต่งสัญญาณ ส่วนประมวลผล และส่วนแสดงผลดังรูป

เซนเซอร์ (Sensor) คือตัวอุปกรณ์ตรวจรู้ตัวแรกในระบบการวัด ซึ่งใช้ตรวจจับหรือรับรู้การเปลี่ยนแปลงปริมาณทางกายภาพของตัวแปรต่างๆ เช่น ความร้อน แสง สี เสียง ระยะทาง การเคลื่อนที่ ความดัน การไหล เป็นต้น แล้วเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของสัญญาณหรือข้อมูลที่สอดคล้องและเหมาะสมกับส่วน ของการกำหนดเงื่อนไขทางสัญญาณ
ถ้าเป็นการวัด แบบสัมผัสกับตัวแปรโดยตรงเรียกตัวตรวจรู้แบบปฐม (Primary sensors) หรือตัวตรวจรู้ชั้นต้น หากมีการตรวจรู้โดยผ่านส่วนอื่นก่อน เช่น สเตรนเกจตรวจรับแรงกดที่ต้องรับแรงถ่ายถอดจากแท่งโลหะที่รับแรงโดยตรงอีกทอด โดยใช้เตรนเกจแปะติดกับแท่งโลหะดังกล่าวเพื่อวัดแรงนั้น เราจะเรียกสเตรนเกจในกรณีนี้ว่าเป็น ตัวตรวจรู้ทุติยภูมิ(Secondary sensor) หรือตัวตรวจจับชั้นรอง การตรวจรู้จะอาศัยผลการเปลี่ยนแปลงของพารามิเตอร์ในตัวเซนเซอร์เองที่สามารถ ตรวจวัดได้ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพารามิเตอร์ทางไฟฟ้า เช่น แรงดัน กระแส ความต้านทาน ความจุ และความเหนี่ยวนำ เป็นต้น
เมื่อค่าตัว แปรเปลี่ยนแปลงแล้วพารามิเตอร์ดังกล่าวจะเปลี่ยนตาม ทำให้สามารถวัดและทราบค่าพารามิเตอร์ทางไฟฟ้าที่เปลี่ยนตามได้ ซึ่งเราอาจวัดได้โดยใช้มิเตอร์หรือวงจรบริดจ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการวัดตัวแปรด้วยวิธีทางไฟฟ้าโดยเราจะทำการเทียบหรือปรับแต่งปริมาณ ทางไฟฟ้านี้แทนค่าตัวแปรที่ทำการวัดอีกที เราจึงอาจเรียกว่าเป็นการวัดโดยวิธีอ้อมได้ กระบวนการนี้เรียกว่าการตรวจจับ (Sensing) กรณีนี้คำว่าทรานสดิวเซอร์จะถูกเรียกว่า เซนเซอร์ จะเห็นว่าทรานสดิวเซอร์และเซนเซอร์แท้จริงคืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เดียวกัน ต่างตรงที่เราจะกล่าวถึงหลักการทำงานหรือกล่าวถึงลักษณะการใช้งาน
ปัจจุบันทราน สดิวเซอร์และเซนเซอร์เป็นคำกลางๆ ที่ใช้ร่วมกันโดยทรานสดิวเซอร์อาจจะรวมทั้งตัวเซนเซอร์และวงจรการปรับแต่ง สัญญาณต่างๆ เข้าเป็นหน่วยเดียวกัน แล้วนำไปใช้ได้ทันที เช่น ทรานสดิวเซอร์ความดัน (Pressure Transducer) เมื่อมีความดันเข้ามาจะให้เอาต์พุตเป็นแรงดันไฟฟ้าหรือกระแสที่แปรเป็นสัด ส่วนกับความดัน เป็นต้น

ชนิดของเซนเซอร์การแบ่งชนิดของทรานสดิวเซอร์

แบ่งโดยอาศัยหลักเกณฑ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้คือ
  • แบ่งตามความต้องการพลังงาน
- แบบแอคทีฟ (Active sensors) เป็นทรานสดิวเซอร์ที่สามารถปล่อยพลังงานเองได้ เช่น เทอร์โมคัปเปิ้ล เพียชโซ เซลล์แสงอาทิตย์ ออปโตไดโอด เป็นต้น อุปกรณ์เหล่านี้ไม่ต้องมีแหล่งจ่ายกำลังจากภายนอกให้ก็สามารถให้สัญญาณแรง ดันหรือกระแสที่แปรตามตัวแปรได้เอง

- แบบพาสซีฟ (Passive sensors) แบบนี้จะต้องใช้แหล่งจ่ายจากภายนอกจึงจะทำการตรวจรู้ได้ เช่น เซ็นเซอร์ที่ใช้หลักการเปลี่ยนค่าความต้านทาน ค่าความจุ ค่าความเหนี่ยวนำ ฯลฯ เป็นต้น
  • แบ่งตามลักษณะกลไกในการทำงาน
- การเปลี่ยนแปลงค่าความจุ (Variable capacitance transducer)
- การเปลี่ยนแปลงค่าความเหนี่ยวนำ (Variable inductance transducer)
- การเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทาน (Variable resistance transducer)
  • แบ่งตามชนิดของการเปลี่ยนแปลงพลังงาน
- เปลี่ยนพลังงานกลเป็นไฟฟ้า
- เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล
- เปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้า
- เปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นพลังงานไฟฟ้า
  • แบ่งตามชนิดของสัญญาณที่ใช้
- แบบอนาลอก ให้สัญญาณเป็นแบบต่อเนื่อง
- แบบไบนารี ให้สัญญาณแบบเปิด-ปิด (ON-OFF)
- ดิจิตอล ให้สัญญาณเป็นแบบดิจิตอล
  • แบ่งตามตำแหน่งที่ใช้ในระบบ
- ทรานสดิวเซอร์ด้านเข้า(Input transducer) อยู่ทางด้านเข้าของระบบเครื่องมือเช่น ไมโครโฟน เป็นต้น

- ทรานสดิวเซอร์ด้านออก (Output transducers) เช่น ลำโพงของระบบเครื่องขยายเสียง เป็นต้น
  • แบ่งตามข้อมูลหรือวัตถุประสงค์ในการวัด
เช่น ทรานสดิวเซอร์วัดการเคลื่อนที่ วัดอุณหภูมิ ความดัน อัตราการไหล ตำแหน่ง เป็นต้น

 Transductcer and Sensor GE Druck
GE Sensing สินค้านำเข้าจากประเทศอังกฤษ

โดย Pressure Transducer ของ GE นั้น มีหลากหลายรุ่นให้เลือกใช้งาน ได้แก่

Pressure Transducer 1000 Series

This flexible product is aimed at OEM manufacturers who require a high quality yet cost effective pressure sensor.

Pressure Transducer 1500 Series

Series Druck Low Cost Industrial Pressure Sensors.

Pressure Transducer DPS 4000

The DPS 4000 Series is a state of the art range of digital output pressure transducers featuring a CANbus serial communications interface.

Pressure Transducer LP 1000

Low Pressure Differential/Gauge Sensors.

Pressure Transducer LPM/LPX1000 Series

The LP 1000 Series wet/wet differential pressure transmitter is ideally suited for use in clean room HVAC monitoring and control.

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ ::
แผนก Instrument : บริษัท เอส.ที.คอนโทรล จำกัด
Tel. (02) 717 3455, 319 1400 
Fax : (02) 319 1800
Website : http://www.stcontrol.com

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

FUJI Servo Motor


ในปัจจุบัน พบว่าในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศไทย เริ่มนำระบบ Automation เข้ามาใช้ในสายงานผลิต และในขั้นตอนกระบวนการผลิตหลายๆ ส่วนของโรงงานมากขึ้น โดยนำเครื่องมือ, เครื่องจักร และอุปกรณ์ต่างๆ มาเพื่อใช้ทดแทนแรงงานคน ซึ่งจะมีผลให้สามารถลดระยะเวลาในการผลิตให้มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น และส่วนมากแล้ว เครื่องจักรที่มีการเคลื่อนที่ ก็จะต้องมีระบบการขับเคลื่อนหรือมีมอเตอร์ (Motor) เป็นองค์ประกอบ เช่น ระบบสายพานลำเลียง หรือเครื่อง CNC เป็นต้น 

มอเตอร์ไฟฟ้า (Motor) เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมเครื่องจักรกลต่างๆ การนำมอเตอร์ไปใช้งาน เราก็ควรทราบถึงความหมาย, ชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้า ตลอดคุณสมบัติการใช้งานของมอเตอร์แต่ละชนิด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานของมอเตอร์นั้นๆ นั้นเอง

มอเตอร์ไฟฟ้า (Motor) หมายถึง เป็นเครื่องกลไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่แปลงพลังงานไฟฟ้ามาเป็นพลังงานกล มอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเปลี่ยนเป็นพลังงานกล มี 2 แบบ คือ มีทั้งพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ และพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง

การแบ่งชนิดของมอเตอร์ (Types of electric motors) สามารถแบ่งได้ดังนี้
  1. สเต็ปปิ้งมอเตอร์ (Stepping Motor)
  2. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (DC Motor)
  3. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Motor)
  4. เซอร์โวมอเตอร์ (Servo Motor) เป็นอุปกรณ์เปลี่ยนกำลังงานทางไฟฟ้าเป็นพลังงานกล ซึ่งเซอร์โวมอเตอร์ได้ถูกออกแบบให้มีความแม่นยำ และความเร็วสูง ทำให้เซอร์โวมอเตอร์แตกต่างจาก Induction Motor ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี
คุณสมบัติของ Servo Motor ได้แก่
  • มีอัตราเร่งที่ดี
  • ตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว
  • ย่านการควบคุมกว้าง
  • ความเร็วในการหมุนต้องคงที่ เนื่องจากการควบคุมการทำงาน Servo motor เป็นการควบคุมแบบป้อนกลับดังนั้นตัว Servo motor ต้องมีตัวนับรอบ (Encoder) ติดอยู่กับตัว Servo motor ด้วยทุกตัว
ชนิดของ Servo Motor แบ่งออกได้ ดังนี้
  1. DC Servo Motor
  2. AC Servo Motor
  3. Stepping Motor ปัจจุบันนิยมใช้ AC Servo ที่เป็นแบบ Synchronous Servo Motor กันมากที่สุด เพราะการใช้งาน และการบำรุงรักษาทำได้ง่าย ซึ่งขนาดของมอเตอร์มีตั้งแต่ 30 W ถึง 5.5 kW
Driver เป็นอุปกรณ์ส่งพลังงานไฟฟ้าไปให้ Motor เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานกล โดยจะแบ่งออกตามประเภทการใช้งาน ได้แก่
  1. Pulse Train Input Driver
  2. Analog Input Driver ซึ่งการใช้งานก็จะแตกต่างกันไปตามความต้องการของระบบ ซึ่งแบ่ง Parameter ที่ต้องควบคุมได้ ดังนี้
  • การควบคุมตำแหน่ง (Position Control)
  • การควบคุมความเร็ว (Speed Control)
  • การควบคุมแรงบิด (Torque Control)
  • การควบคุมการเคลื่อนที่ (Motion Control) ในการใช้งาน เราต้องรู้ว่างานเป็นแบบใด และต้องการควบคุม Parameter ตัวไหนและต้องเลือกระบบให้ถูกต้องตรงกับความต้องการนั้นๆ


FUJI SERVO SYSTEM

Smart servo for smart users...

Smart adjustment Advanced auto-tuning function and robust performance for unprecedented smart adjustment.
Smart design Inherits the main features of ALPHA5. Highly adaptable smart design.
Smart operation The new Servo Operator allows smart operation anytime anywhere.
High Performance High-speed, high-precision positioning
- Frequency response 1,500 Hz
- Max motor speed 6,000 r/min
- High-resolution encoder
  • 8-bit ABS/INC 262,144 pulses
  • 20-bit INC 1,048,576 pulses

High Value
Higher cost-performance with original main features.
High Usability
New servo operator offers improved usability.

:: Features

1. Servo amplifier features a built-in positioning function
The servo amplifier’s positioning data enables film feeding without the positioning controller.

2. Less wiring required
Wiring requires fewer man-hours as basic positioning is carried out via Modbus-RTU communications.

3. Interrupted positioning
The interrupted positioning function allows a specified amount of travel after the mark is detected for more precise mark operation.

:: New servo operator


 


หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ ::
แผนก Automation : บริษัท เอส.ที.คอนโทรล จำกัด
Tel. (02) 717 3455, 319 1400 
Fax : (02) 319 1800
Website : http://www.stcontrol.com

วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

รายชื่ออุปกรณ์ปรับความเร็วรอบมอเตอร์ที่ได้รับฉลากประสิทธิภาพสูงจากกระทรวงพลังงาน


จากบทความที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้นำเสนอเกี่ยวกับหัวข้อ "มาประหยัดพลังงานไปกับ Fuji Inverter กันเถอะ..." นั้น

หลายๆ ท่านคงอยากทราบความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับอุปกรณ์ปรับความเร็วรอบของมอเตอร์ (Inverter) ยี่ห้อ FUJI ว่ามีสินค้ารุ่นใดบ้างที่ได้รับฉลากประสิทธิภาพสูงจาก กระทรวงพลังงาน วันนี้ทางบริษัทฯ ขอตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านสินค้าประหยัดพลังงาน ด้วยการผ่านการตรวจสอบจากกระทรวงพลังงาน จน FUJI Inverter ได้รับฉลากประสิทธิภาพสูงถึง 51 รุ่น 

รายชื่ออุปกรณ์ปรับความเร็วรอบมอเตอร์ ยี่ห้อ FUJI ที่ได้รับฉลากประสิทธิภาพสูงจากกระทรวงพลังงาน
ลำดับที่ ยี่ห้อ รุ่น ประกาศ อพพ. ฉบับที่
1. FUJI FRN 5.5 E1S-4A 1
2. FUJI FRN 5.5 G1S-4A 1
3. FUJI FRN 45 G1S-4A 1
4 FUJI FRN 55 G1S-4A 1
5 FUJI FRN 75 G1S-4A 1
6 FUJI FRN 90 G1S-4A 1
7 FUJI FRN 110 G1S-4A 1
8 FUJI FRN 132 G1S-4A 1
9 FUJI FRN 160 G1S-4A 1
10 FUJI FRN 200 G1S-4A 1
11 FUJI FRN 220 G1S-4A 1
12 FUJI FRN 280 G1S-4A 1
13 FUJI FRN 315 G1S-4A 1
14 FUJI FRN 355 G1S-4A 1
15 FUJI FRN 400 G1S-4A 1
16 FUJI FRN 500 G1S-4A 1
17 FUJI FRN 630 G1S-4A 1
18 FUJI FRN 45 F1S-4A 1
19 FUJI FRN 55 F1S-4A 1
20 FUJI FRN 75 F1S-4A 1
21 FUJI FRN 90 F1S-4A 1
22 FUJI FRN 110 F1S-4A 1
23 FUJI FRN 132 F1S-4A 1
24 FUJI FRN 160 F1S-4A 1
25 FUJI FRN 200 F1S-4A 1
26 FUJI FRN 220 F1S-4A 1
27 FUJI FRN 280 F1S-4A 1
28 FUJI FRN 315 F1S-4A 1
29 FUJI FRN 355 F1S-4A 1
30 FUJI FRN 400 F1S-4A 1
31 FUJI FRN 450 F1S-4A 1
32 FUJI FRN 500 F1S-4A 1
33 FUJI FRN 560 F1S-4A 1
34 FUJI FRN11E1S-4A 7
35 FUJI FRN11F1S-4A 7
36 FUJI FRN11G1S-4A 7
37 FUJI FRN15E1S-4A 7
38 FUJI FRN15F1S-4A 7
39 FUJI FRN15G1S-4A 7
40 FUJI FRN18.5F1S-4A 7
41 FUJI FRN18.5G1S-4A 7
42 FUJI FRN2.2F1S-4A 7
43 FUJI FRN22F1S-4A 7
44 FUJI FRN3.7C1S-4A 7
45 FUJI FRN3.7F1S-4A 7
46 FUJI FRN3.7G1S-4A 7
47 FUJI FRN30F1S-4A 7
48 FUJI FRN37F1S-4A 7
49 FUJI FRN7.5E1S-4A 7
50 FUJI FRN7.5F1S-4A 7
51 FUJI FRN7.5G1S-4A 7

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ ::

แผนก Automation : บริษัท เอส.ที.คอนโทรล จำกัด
Tel. (02) 717 3455, 319 1400 
Fax : (02) 319 1800
Website : http://www.stcontrol.com