Hot Products

วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

การทำงานในที่อับอากาศ

นับได้ว่าอันตรายที่เกิดขึ้นจากการทำงานในสถานที่อับอากาศ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานเพื่อเข้าไปตรวจสอบ, ซ่อมบำรุง หรือทำความสะอาดอุปกรณ์ภายในต่างๆ นั้น อาจทำให้ผู้ที่เข้าไปปฏิบัติงานได้รับบาดเจ็บ, เจ็บป่วย หรือเสียชีวิตได้ถ้าขาดความระมัดระวัง หรือการป้องกันที่ถูกต้องตามหลักมาตรฐานสากล ดังนั้นเรามาดูรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการความปลอดภัยในการทำงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้อง กันดีกว่าค่ะ

ที่อับอากาศคือ?
ที่อับอากาศ หมายถึง ที่ซึ่งมีทางเข้าออกจำกัด และมีการระบายอากาศไม่เพียงพอที่จะทำให้อากาศภายในอยู่ในสภาพที่ถูก สุขลักษณะและปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นที่สะสมของสารเคมีเป็นพิษ สารไวไฟ รวมทั้งออกซิเจนไม่เพียงพอ ตัวอย่างของสถานที่อับอากาศ - ถังน้ำมัน - ถังหมัก - ไซโล - ท่อ - เตา - ถัง - บ่อ - ห้องใต้ดิน - ภาชนะหรือสิ่งอื่นใดที่มีลักษณะคล้ายกัน 

อันตรายจากการทำงานในสถานที่อับอากาศ?
อันตรายจากการทำงานในสถานที่อับอากาศแบ่งเป็น 4 กลุ่มใหญ่ คือ

  1. การขาดออกซิเจน สาเหตุใหญ่ของการตายในสถานที่อับอากาศ คือ ขาดออกซิเจนในการหายใจ หมายถึง ปริมาณออกซิเจนในสถานที่อับอากาศนั้นน้อยกว่า 19.5 Vol.%  หรือมากกว่า 23.5 Vol.% สาเหตุเกิดจากมีการติดไฟ หรือการระเบิด ไฟจะใช้ออกซิเจน เพื่อการลุกไหม้ การแทนที่ออกซิเจนด้วยก๊าซอื่น เช่น มีเทน, คาร์บอนไดออกไซด์, ไนโตรเจน เป็นต้น เกิดการกัดกร่อน หรือการเกิดสนิม เหล็กใช้ออกซิเจนจากอากาศไปในการเกิดสนิม และการที่ออกซิเจนถูกใช้ไปในปฏิกิริยาหมัก
  2. ปฏิกิริยาการเผาไหม้ สาเหตุสำคัญของการตายในสถานที่อับอากาศอีกสาเหตุหนึ่งคือ การเกิดไฟ และการระเบิด โดยมีก๊าซ, ไอ, ละอองที่ติดไฟหรือระเบิดได้ เกินกว่าร้อยละ 10 ของค่าความเข้มข้นขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิด ได้ (Lower Flammable Limit หรือ Lower Explosive Limit)  และมีฝุ่นที่ทำให้ติดไฟหรือระเบิดได้ ซึ่งมีค่าความเข้มข้นเท่ากับหรือมากกว่าค่าความเข้มข้มขั้นต่ำของสารเคมีแต่ ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ (LEL) สิ่งก่อเหตุคือ สารเคมี สี ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม สารทำละลาย หรือวัตถุจากธรรมชาติ สามารถทำให้เกิดการระเบิดได้ ไอหรือก๊าซที่ทำให้เกิดเปลวไฟ ในสถานที่อับอากาศสามารถเกิดประกายไฟขึ้นได้ จากการกระทำดังนี้ การเกิดไฟฟ้าช็อต การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้ป้องกันการเกิดประกายไฟ การขัด การสูบบุหรี่ การเชื่อมโลหะ
  3. สารพิษ เป็นอันตรายเมื่อมีค่าความเข้มข้นของสารเคมีแต่ละชนิดเกินมาตรฐานในการ บริหารและจัดการด้านความ ปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย  สารพิษหลายชนิดที่ไม่สามารถมองเห็นได้ หรือได้กลิ่น สามารถทำให้เกิดอันตรายใหญ่ๆ ได้ 2 แบบ ในสถานที่อับอากาศ คือ การระคายเคือง ถึงแม้จะมีสารพิษเพียงเล็กน้อย แต่ก็อาจมีผลกับระบบทางเดินหายใจ หรือระบบประสาทและฆ่าคุณได้  การขาดออกซิเจนจากสารเคมี เมื่อ สารเคมีเป็นสารพิษเข้าสู่ร่างกาย สามารถไปหยุดการนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย หรือนำไปสู่ปอด และทำให้ร่างกายคุณขาดออกซิเจน เกิดอาการปวดศีรษะ มึนงง วิงเวียน คลื่นไส้  ก๊าซพิษที่ทำให้เกิดอันตรายในสถานที่อับอากาศบ่อยๆ คือ คาร์บอนมอนนอกไซด์ เกิดจากการเผาไหม้ สามารถทำให้ตายได้ โดยการเข้าไปแทนที่ออกซิเจนในเลือด ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มีกลิ่นเหม็น และมีพิษ แม้จะมีจำนวนเพียงเล็กน้อย ไฮโดรเจนซัลไฟด์ เกิดในขบวนการอุตสาหกรรม สามารถทำให้หยุดการหายใจ ถ้าเข้าไปในร่างกาย
  4. อันตรายทางกายภาพ ส่วนของเครื่องจักรที่เคลื่อนไหว ถ้าอยู่ในสถานที่อับอากาศยิ่งจะมีอันตรายมาก ส่วนของเครื่องจักรที่เคลื่อนไหวจะต้องถูกล็อคใส่กุญแจ และแขวนป้ายก่อนที่จะเข้าไปทำงานในบริเวณนั้น วาวล์หรือท่อ ทำให้เกิดอันตราย ถ้ามีก๊าซ หรือของเหลวไหลผ่านอาจทำให้เกิดการระเบิด จมน้ำ เกิดพิษ หรือ น้ำร้อนลวก ฯลฯ  การถูกดูดจม จะเกิดที่ไซโลที่เก็บเมล็ดพืชผล การขึ้นไปเดินบนเมล็ดพืชผลนั้น อาจทำให้ล้มลงและดูดจมลงไปในเมล็ดพืชผลนั้น เกิดการขาดอากาศหายใจ เสียงดัง ทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินแบบถาวร หรือถึงแม้จะเป็นการชั่วคราวก็จะทำให้ไม่สามารถได้ยินเสียงที่จะบอกทิศทาง ที่สำคัญ หรือการระวังอันตราย  ตกจากที่สูง ในสถานที่อับอากาศ เมื่อมีปริมาณออกซิเจน หรือก๊าซพิษ คนทำงานเกิดอาการขาดออกซิเจน เกิดพิษหรือการแกว่างไปมาของบันไดที่ใช้ปีนทำงานแล้วตกลงสู่เบื้องล่าง  ไฟฟ้าดูด ขณะทำงานอาจพลาดไปจับส่วนของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีกระแสไฟรั่วไหลเกิดการดูด ช็อต  ความร้อน สามารถเกิดได้รวดเร็วในสถานที่อับอากาศ ทำให้เกิดการเสียเหงื่อมากจนถึงขั้นวิงเวียนหน้ามืด (Heat Stroke) ได้ แสงจ้า มีการทำงานในสถานที่อับอากาศโดยมีการเชื่อมโลหะ ถ้ามองดูแสงจ้านั้นด้วยตาเปล่าจะเกิดอันตรายกับดวงตา
หลักปฏิบัติเมื่อทำงานในสถานที่อับอากาศ
เพื่อ ความปลอดภัยสำหรับการทำงานในสถานที่อับอากาศ นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามรายละเอียดต่อไปนี้ ก่อนอนุญาตให้ลูกจ้างปฎิบัติงานในสถานที่อับอากาศ
  • ต้องมีการตรวจสอบปริมาณออกซิเจน สารเคมีและสิ่งปนเปื้อนในสถานที่อับอากาศว่าจะทำให้เกิดการขาดออกซิเจน การระเบิดและการเป็นพิษหรือไม่ และเก็บบันทึกผลการตรวจไว้ให้เจ้าหน้าที่แรงงานสามารถตรวจสอบได้
  • ให้ทำการระบายอากาศให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย ถ้าตรวจสอบพบว่ามีปริมาณออกซิเจน ต่ำกว่าร้อยละ 19.5 โดยปริมาตร หรือสารเคมีที่ติดไฟได้ในปริมาณเข้มข้นกว่าร้อยละ 20 ของความเข้มข้นต่ำสุด ที่จะติดไฟหรือระเบิดได้ หรือสารเคมีอื่นๆ ที่อยู่ในระดับเกินกว่าค่าความปลอดภัยที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย
  • นายจ้างต้องจัดหาอุปกรณ์ช่วยหายใจ เข็มขัดนิรภัย สายชูชีพ และอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยอื่นๆ ที่เหมาะสมกับสภาพการทำงานตามมาตรฐานกรมแรงงานยอมรับให้ลูกจ้างใช้
  • ต้องจัดให้มีใบอนุญาต ให้ลูกจ้างเข้าทำงานในที่อับอากาศทุกครั้ง ตามแบบที่อธิบดีกำหนด

ข้อกำหนดที่นายจ้างต้องปฏิบัติระหว่างที่อนุญาตให้มีการทำงานในสถานที่อับอากาศ
  • ต้องตรวจสอบสภาพอากาศเป็นระยะๆ เพื่อไม่ให้เกินมาตรฐาน ต้องขจัดหรือระบายอากาศให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย
  • จัดให้มีคนช่วยเหลือ หรือผู้ที่ผ่านการอบรมช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัย คอยดูแล และเฝ้าที่ปากทางเข้า - ออกสถานที่อับอากาศ ตลอดเวลาและสามารถติดต่อสื่อสารกับลูกจ้างที่ทำงานในสถานที่อับอากาศได้ พร้อมมีอุปกรณ์ช่วยชีวิตที่เหมาะสมตามลักษณะของงาน และคอยให้ความช่วยเหลือลูกจ้างได้ทันทีตลอดเวลาการทำงาน
  • อุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ประกอบที่ใช้ในสถานที่อับอากาศ ต้องเป็นชนิดที่สามารถป้องกัน ความร้อน ฝุ่น การระเบิด การลุกไหม้ และไฟฟ้าลัดวงจรอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งต้องจัดให้มีการเดินสายไฟฟ้าในสถานที่อับอากาศด้วยวิธีที่ปลอดภัย
  • นายจ้างต้องจัดให้มีผู้ควบคุมงานที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ เช่น วางแผนปฏิบัติงาน และป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น และอบรมสอนงาน ควบคุมดูแลให้ ลูกจ้างใช้ตรวจตรา เครื่องป้องกันและอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย ที่ให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะทำงาน
  • ให้นายจ้างกำหนดข้อห้าม และควบคุมต่างๆ เช่น ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามก่อไฟ ห้ามคนไม่เกี่ยวข้องเข้าไป ถ้าเป็นช่องโพรง ต้องปิดกั้นไม่ให้คนตกลงไป และจัดให้มีป้ายแจ้งข้อความ "บริเวณอันตรายห้ามเข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต" ปิดประกาศไว้ในบริเวณสถานที่อับอากาศซึ่งมองเห็นชัดอยู่ตลอดเวลา
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง : กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ ::
แผนก Instrument : บริษัท เอส.ที.คอนโทรล จำกัด
Tel. (02) 717 3455, 319 1400 (Auto)
Fax : (02) 319 1800
เครื่องมือสอบเทียบความดันแบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีล่าสุดในการสอบเทียบในระบบนิวแมติก

PACE Series Modular Pressure Controller

PACE Series Modular Pressure Controller/Indicator

The PACE Series pneumatic pressure controller brings together the latest control and measurement technology to offer an elegant and economical solution to pressure controlfor production, test and calibration.

It employs full digital control to provide high control stability and high slew rate, while its digitally characterized pressure sensor offers the quality, stability, higher bandwidth and precision associated with this latest generation of piezo-resistive devices.

Feature
  • Selection of Chassis and interchangeable control modules
  • Single, dual or auto range control module configurations
  • High speed pressure control
  • Up to 210 bar (3000 psi/21 MPa) gauge & absolute
  • Choice of precision up to 0.005% Rdg +0.005% FS
  • Long-term stability up to 0.01% rdg per annum
  • Barometric reference option
  • Utilises GE’s new unique range of piezo-resistive & resonant pressure sensor technology
  • 28 selectable pressure units and 4 user defined units
  • Switch Test, Leak Test, Test Program, Burst Test, Analogue output and Volt Free Contact options
  • Aeronautical option
  • Negative gauge calibration included as standard
  • High resolution colour touch screen operation
  • Intuitive icon task driven menu structure
  • Compatible with software packages
  • RS232, IEEE connectivity, Ethernet and USB as standard
Applications

Automatic test and calibration of pressure recorders, indicators, switches and transmitters.
  • Instrument workshops
  • Services companies
  • Laboratories
  • Automotive test cells
  • Manufacturing
  • Burst testing 
 ------------------------------------------------------------------------------------------------------ 
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ ::
แผนก Instrument : บริษัท เอส.ที. คอนโทรล จำกัด
Tel. (02) 717 3455, 319 1400 (Auto)
Fax : (02) 319 1800
Website : http://www.stcontrol.com

GMI Launches New Confined Space Gas Detector

Scottish based Gas Measurement Instruments Ltd (GMI), a long established manufacturer of gas detection equipment, has launched its new Personal Surveyor (PS200 Series) product range.

This state of the art multi-gas detector will be sold internationally to the industrial safety, shipping and utility markets.

The PS200 is a small yet extremely robust, four gas detector that will detect flammable, oxygen, hydrogen sulphide and carbon monoxide gases.

This instrument has been specially designed to be easy to use, yet incorporate modern pcb, sensor and battery technologies.  Extra loud audible, bright visual and vibrating alarms are designed to keep workers safe when working in confined spaces.

This new portable detector can be bump tested and calibrated automatically ensuring worker safety, corporate compliance, instrument accuracy and record keeping.  The bump test and calibration station is available in standalone, PC and networked versions.

Founded in 1947, GMI is a world leader in the design and manufacture of high quality and innovative products, specifically designed for the oil and gas, chemical and shipping industries world-wide.  GMI continues to invest heavily in research and development, a high percentage of which is spent on the development of state of the art instruments and new sensing technologies. 

------------------------------------------------------------------------------------------------------
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ ::

แผนก Instrument : บริษัท เอส.ที.คอนโทรล จำกัด
Tel. (02) 717 3455, 319 1400
Fax : (02) 319 1800
Website : http://www.stcontrol.com