Hot Products

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

FUJI Servo Motor


ในปัจจุบัน พบว่าในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศไทย เริ่มนำระบบ Automation เข้ามาใช้ในสายงานผลิต และในขั้นตอนกระบวนการผลิตหลายๆ ส่วนของโรงงานมากขึ้น โดยนำเครื่องมือ, เครื่องจักร และอุปกรณ์ต่างๆ มาเพื่อใช้ทดแทนแรงงานคน ซึ่งจะมีผลให้สามารถลดระยะเวลาในการผลิตให้มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น และส่วนมากแล้ว เครื่องจักรที่มีการเคลื่อนที่ ก็จะต้องมีระบบการขับเคลื่อนหรือมีมอเตอร์ (Motor) เป็นองค์ประกอบ เช่น ระบบสายพานลำเลียง หรือเครื่อง CNC เป็นต้น 

มอเตอร์ไฟฟ้า (Motor) เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมเครื่องจักรกลต่างๆ การนำมอเตอร์ไปใช้งาน เราก็ควรทราบถึงความหมาย, ชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้า ตลอดคุณสมบัติการใช้งานของมอเตอร์แต่ละชนิด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานของมอเตอร์นั้นๆ นั้นเอง

มอเตอร์ไฟฟ้า (Motor) หมายถึง เป็นเครื่องกลไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่แปลงพลังงานไฟฟ้ามาเป็นพลังงานกล มอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเปลี่ยนเป็นพลังงานกล มี 2 แบบ คือ มีทั้งพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ และพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง

การแบ่งชนิดของมอเตอร์ (Types of electric motors) สามารถแบ่งได้ดังนี้
  1. สเต็ปปิ้งมอเตอร์ (Stepping Motor)
  2. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (DC Motor)
  3. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Motor)
  4. เซอร์โวมอเตอร์ (Servo Motor) เป็นอุปกรณ์เปลี่ยนกำลังงานทางไฟฟ้าเป็นพลังงานกล ซึ่งเซอร์โวมอเตอร์ได้ถูกออกแบบให้มีความแม่นยำ และความเร็วสูง ทำให้เซอร์โวมอเตอร์แตกต่างจาก Induction Motor ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี
คุณสมบัติของ Servo Motor ได้แก่
  • มีอัตราเร่งที่ดี
  • ตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว
  • ย่านการควบคุมกว้าง
  • ความเร็วในการหมุนต้องคงที่ เนื่องจากการควบคุมการทำงาน Servo motor เป็นการควบคุมแบบป้อนกลับดังนั้นตัว Servo motor ต้องมีตัวนับรอบ (Encoder) ติดอยู่กับตัว Servo motor ด้วยทุกตัว
ชนิดของ Servo Motor แบ่งออกได้ ดังนี้
  1. DC Servo Motor
  2. AC Servo Motor
  3. Stepping Motor ปัจจุบันนิยมใช้ AC Servo ที่เป็นแบบ Synchronous Servo Motor กันมากที่สุด เพราะการใช้งาน และการบำรุงรักษาทำได้ง่าย ซึ่งขนาดของมอเตอร์มีตั้งแต่ 30 W ถึง 5.5 kW
Driver เป็นอุปกรณ์ส่งพลังงานไฟฟ้าไปให้ Motor เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานกล โดยจะแบ่งออกตามประเภทการใช้งาน ได้แก่
  1. Pulse Train Input Driver
  2. Analog Input Driver ซึ่งการใช้งานก็จะแตกต่างกันไปตามความต้องการของระบบ ซึ่งแบ่ง Parameter ที่ต้องควบคุมได้ ดังนี้
  • การควบคุมตำแหน่ง (Position Control)
  • การควบคุมความเร็ว (Speed Control)
  • การควบคุมแรงบิด (Torque Control)
  • การควบคุมการเคลื่อนที่ (Motion Control) ในการใช้งาน เราต้องรู้ว่างานเป็นแบบใด และต้องการควบคุม Parameter ตัวไหนและต้องเลือกระบบให้ถูกต้องตรงกับความต้องการนั้นๆ


FUJI SERVO SYSTEM

Smart servo for smart users...

Smart adjustment Advanced auto-tuning function and robust performance for unprecedented smart adjustment.
Smart design Inherits the main features of ALPHA5. Highly adaptable smart design.
Smart operation The new Servo Operator allows smart operation anytime anywhere.
High Performance High-speed, high-precision positioning
- Frequency response 1,500 Hz
- Max motor speed 6,000 r/min
- High-resolution encoder
  • 8-bit ABS/INC 262,144 pulses
  • 20-bit INC 1,048,576 pulses

High Value
Higher cost-performance with original main features.
High Usability
New servo operator offers improved usability.

:: Features

1. Servo amplifier features a built-in positioning function
The servo amplifier’s positioning data enables film feeding without the positioning controller.

2. Less wiring required
Wiring requires fewer man-hours as basic positioning is carried out via Modbus-RTU communications.

3. Interrupted positioning
The interrupted positioning function allows a specified amount of travel after the mark is detected for more precise mark operation.

:: New servo operator


 


หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ ::
แผนก Automation : บริษัท เอส.ที.คอนโทรล จำกัด
Tel. (02) 717 3455, 319 1400 
Fax : (02) 319 1800
Website : http://www.stcontrol.com

วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

รายชื่ออุปกรณ์ปรับความเร็วรอบมอเตอร์ที่ได้รับฉลากประสิทธิภาพสูงจากกระทรวงพลังงาน


จากบทความที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้นำเสนอเกี่ยวกับหัวข้อ "มาประหยัดพลังงานไปกับ Fuji Inverter กันเถอะ..." นั้น

หลายๆ ท่านคงอยากทราบความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับอุปกรณ์ปรับความเร็วรอบของมอเตอร์ (Inverter) ยี่ห้อ FUJI ว่ามีสินค้ารุ่นใดบ้างที่ได้รับฉลากประสิทธิภาพสูงจาก กระทรวงพลังงาน วันนี้ทางบริษัทฯ ขอตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านสินค้าประหยัดพลังงาน ด้วยการผ่านการตรวจสอบจากกระทรวงพลังงาน จน FUJI Inverter ได้รับฉลากประสิทธิภาพสูงถึง 51 รุ่น 

รายชื่ออุปกรณ์ปรับความเร็วรอบมอเตอร์ ยี่ห้อ FUJI ที่ได้รับฉลากประสิทธิภาพสูงจากกระทรวงพลังงาน
ลำดับที่ ยี่ห้อ รุ่น ประกาศ อพพ. ฉบับที่
1. FUJI FRN 5.5 E1S-4A 1
2. FUJI FRN 5.5 G1S-4A 1
3. FUJI FRN 45 G1S-4A 1
4 FUJI FRN 55 G1S-4A 1
5 FUJI FRN 75 G1S-4A 1
6 FUJI FRN 90 G1S-4A 1
7 FUJI FRN 110 G1S-4A 1
8 FUJI FRN 132 G1S-4A 1
9 FUJI FRN 160 G1S-4A 1
10 FUJI FRN 200 G1S-4A 1
11 FUJI FRN 220 G1S-4A 1
12 FUJI FRN 280 G1S-4A 1
13 FUJI FRN 315 G1S-4A 1
14 FUJI FRN 355 G1S-4A 1
15 FUJI FRN 400 G1S-4A 1
16 FUJI FRN 500 G1S-4A 1
17 FUJI FRN 630 G1S-4A 1
18 FUJI FRN 45 F1S-4A 1
19 FUJI FRN 55 F1S-4A 1
20 FUJI FRN 75 F1S-4A 1
21 FUJI FRN 90 F1S-4A 1
22 FUJI FRN 110 F1S-4A 1
23 FUJI FRN 132 F1S-4A 1
24 FUJI FRN 160 F1S-4A 1
25 FUJI FRN 200 F1S-4A 1
26 FUJI FRN 220 F1S-4A 1
27 FUJI FRN 280 F1S-4A 1
28 FUJI FRN 315 F1S-4A 1
29 FUJI FRN 355 F1S-4A 1
30 FUJI FRN 400 F1S-4A 1
31 FUJI FRN 450 F1S-4A 1
32 FUJI FRN 500 F1S-4A 1
33 FUJI FRN 560 F1S-4A 1
34 FUJI FRN11E1S-4A 7
35 FUJI FRN11F1S-4A 7
36 FUJI FRN11G1S-4A 7
37 FUJI FRN15E1S-4A 7
38 FUJI FRN15F1S-4A 7
39 FUJI FRN15G1S-4A 7
40 FUJI FRN18.5F1S-4A 7
41 FUJI FRN18.5G1S-4A 7
42 FUJI FRN2.2F1S-4A 7
43 FUJI FRN22F1S-4A 7
44 FUJI FRN3.7C1S-4A 7
45 FUJI FRN3.7F1S-4A 7
46 FUJI FRN3.7G1S-4A 7
47 FUJI FRN30F1S-4A 7
48 FUJI FRN37F1S-4A 7
49 FUJI FRN7.5E1S-4A 7
50 FUJI FRN7.5F1S-4A 7
51 FUJI FRN7.5G1S-4A 7

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ ::

แผนก Automation : บริษัท เอส.ที.คอนโทรล จำกัด
Tel. (02) 717 3455, 319 1400 
Fax : (02) 319 1800
Website : http://www.stcontrol.com

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Basics in EMC and Power ภาค 2


  


การจัดวางกราวด์ (Grounding)
การเชื่อมต่อกราวด์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับแนวคิด EMC ในทุกๆ ด้านชนิดของการเชื่อมต่อ
และหลายๆ แนวคิดมีอิทธิพลต่อฟังก์ชันและประสิทธิภาพของระบบกราวด์ โดยพื้นฐานการเชื่อมต่อกราวด์ควรจะบรรลุผลตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้
  • การส่งผ่านสัญญาณระหว่างส่วนที่อ่อนไหว และส่วนที่มีการแพร่กระจายสัญญาณรบกวนสูงควรจะลดลง
  • การส่งผ่านสัญญาณจากสนามที่แพร่กระจายสู่ภายนอกควรจะลดลงตามการแพร่กระจายสัญญาณรบกวนจากตัวเครื่องมือเอง
  • ต้องหลีกเลี่ยงการทำให้เกิดความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้าระหว่างหลายๆ หน่วย
แนวคิดการจัดวางกราวด์ (Grounding)
ดัง ที่ได้กล่าวไว้แล้วก่อนหน้านี้ การเชื่อมต่อกับกราวด์ไม่ได้เป็นเฉพาะมาตรการที่เป็นผลเท่านั้น ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดก็สามารถที่บรรลุผลตามมาด้วยกับเครื่องมือออกแบบอื่นๆ ตัวอย่างเช่น การชีลด์ และการกรองสัญญาณสำหรับทุกๆ มาตรการแก้ไข EMC เครื่องมือทุกชุดควรจะถูกใช้ และควรเลือกแนวทางการแก้ไขที่ประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยจำนวนของกฎสำหรับการจัดวางกราวด์ทั่วไปที่ได้นำไปใช้มี ดังนี้
  • แต่ละวงจรไฟฟ้าควรจะมีการเชื่อมต่อกราวด์ที่เป็นอิสระ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความต่างศักย์ไฟฟ้า
  • วิธีของการจัดวางกราวด์ ขึ้นอยู่กับความถี่ของสัญญาณ
สำหรับความถี่ต่ำขนาดของวงจรจะมีขนาดเล็ก เมื่อทำการเปรียบเทียบกับความยาวคลื่นและการเรโซแนนซ์จะไม่เกิดขึ้น การจัดวางกราวด์บนด้านเดียวก็พอเพียง และควรจะเป็นด้านที่เป็นตัวส่งสัญญาณด้านที่เป็นตัวรับสัญญาณ ก็ควรจะปล่อยลอยไว้ โดยวิธีนี้จะเรียกว่า "การจัดกราวด์จุดเดียว" (Single-point grounding)


ความสูง ความยาว คลื่นจะเล็กเทียบเคียงกับขนาดของวงจรและการเกิดเรโซแนนซ์จะหลีกเลี่ยงได้ อยากมาก ในเงื่อนไขที่ได้มีการกำหนดเงื่อนไขไว้ ต้องทราบคุณลักษณะอิมพีแดนซ์ของสายเคเบิลเป็นอย่างดี และต้องต่อกราวด์ที่ปลายทั้งสองด้าน ในบางกรณีมีการเพิ่มการต่อกราวด์ที่หลายๆ จุดในเคเบิล ตามเส้นทางเดินของสัญญาณ
  • สำหรับวงจรที่มีทั้งสัญญาณความต่ำและความถี่สูง สายเคเบิลสามแกนควรจะเป็นแนวทางแก้ไขที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตามมันจะมีราคาสูงและน้ำหนักมาก จึงไม่ได้นำมาใช้ในหลายๆ กรณีการวางแนวคิดได้ถูกนำมาใช้ การจัดวางกราวด์ร่วมกัน โดยการตีเกลียวสายและวิธีอื่น
  • การจัดวางกราวด์ไม่จำเป็นเฉพาะสำหรับเครื่องมือหนึ่งชิ้นเท่านั้น แต่ต้องทำกับทุกๆ ระบบ อุปกรณ์เดี่ยวทั้งหมดควรจะเชื่อมต่อกราวด์ที่จุดเดียวกัน เพื่อหลีกเลี่ยงศักย์ไฟฟ้าที่ต่างกัน ถ้ามีการใช้ระบบกราวด์มากกว่าหนึ่งจุด ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีความต้านทานค่าต่ำๆ ระหว่างจุดกราวด์
การจัดวางสายดิน
การจัดวางกราวด์และการต่อลงดินจะมีฟังก์ชันการทำงานในเครื่องมือที่แยก จากกันและมีกฎที่ใช้ต่างกัน การต่อลงดินก็เพื่อแก้ปัญหาสำหรับเหตุผลทางด้านความปลอดภัย ดังนั้นค่าความต้านทานของดินที่ต่ออยู่จึงเป็นสิ่งสำคัญ มาตรฐานทางด้านความปลอดภัยส่วนใหญ่ได้กำหนดให้การต่อลงดินต้องมีการทดสอบ เหตุผลส่วนใหญ่ของการจัดวางกราวด์ถูกใช้เพื่อเหตุผลทางด้าน EMC โดยความต้านทานเป็นอิมพีแดนซ์ของการเชื่อมต่อกราวด์ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่าง ยิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษที่ความถี่สูง การเชื่อมต่อแบบกระจายจะเป็นการต่อที่ให้ผลที่ดีกว่าการต่อแบบจุดเดียว สายเคเบิลแบบแบน แบบสายถักควรจะจัดวางให้อยู่รอบๆ เหนือลวดตัวนำ และควรจะไม่สับสนระหว่างการจัดวางกราวด์และการต่อลงดินโดยการต่อลงดินเป็น การเชื่อมต่อของทุกๆ ระบบไปที่กราวด์ร่วมเพื่อเหตุผลทางด้านความปลอดภัย การจัดวางกราวด์สามารถที่จะนำมาใช้สำหรับฟังก์ชันที่มีเหตุผลในการยืนยัน คุณลักษณะของ EMC

องค์ประกอบในการกำจัดสัญญาณ (Suppression components)
การ เกิดการรบกวนสามารถที่จะเกิดการสะท้อนกลับผ่านไปยังแหล่งจ่ายไฟฟ้า โดยการทำงานร่วมกันของโครงข่าย LC ในเส้นทางของสัญญาณรบกวน การป้องกันการรบกวนนี้สามารถทำได้โดยการใช้อุปกรณ์กำจัดสัญญาณใส่ไปในสาย แหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้า ความสามารถของการนำมาใช้ร่วมกันของ ตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้ากับตัวเก็บประจุไฟฟ้าในการป้องกันสายตัวนำที่เกิดการรบกวน ประกอบไปด้วย ดังต่อไปนี้
  • ค่าความเหนี่ยวนำอุนกรมกับเส้นทางของการเกิดการรบกวน
  • ตัวเก็บประจุไฟฟ้า Cx ระหว่างเฟสกับนิวทรอล หรือระหว่างเฟสกับเฟส
  • ตัวเก็บประจุไฟฟ้า Cy ระหว่างเฟสกับดิน และระหว่างนิวทรอลกับสายดิน
โช้ค (Chokes)
โช้ค ประกอบไปด้วยตัวนำไฟฟ้าพันรอบแกนวัสดุที่มีคุณลักษณะทางด้านแม่เหล็ก รูปแบบต่างๆ ที่มีอยู่สำหรับวัสดุแกนมีดังนี้ แกนวงแหวนแกน-D แกน-E แกน-I และอื่น โช้คทำขึ้น เพื่อใช้คุณลักษณะทางแม่เหล็กไปกำจัดสัญญาณรบกวน RF เสมอโดยไม่สนใจรูปแบบของแกน
วัสดุแกนจะส่งเสริมสมรถนะของโช้คให้ขึ้นไปสูงสุด โดยมันจะเพิ่มผลของแม่เหล็กในโช้ค เพื่อเป็นการยืนยันคุณสมบัติในการกำจัดสัญญาณและทำให้อุปกรณ์มีขนาดกะทัดรัด วัสดุแกนก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกเช่นกัน เช่น อุณหภูมิ หรือกระแสไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม เมื่อใช้โช้คนอกขอบข่ายความสามารถของมันแล้วที่ได้ระบุเอาไว้แล้ว โช้คจะเกิดการอิ่มตัว ทำให้ไม่สามารถรักษาอิมพีแดนซ์เอาไว้ได้
ขณะที่พิกัดกระแสก็เป็นปัจจัยหลักอย่างหนึ่งของการอิ่มตัว สัญญาณรบกวนแบบไม่สมมาตรที่มีกระแสสูงก็สามารถเป็นเหตุผลของการอิ่มตัวได้ การอิ่มตัวสามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้โดยใช้งานตามสเปคที่ได้ระบุเอาไว้ หรือใช้เทคนิคการพันแบบพิเศษ ซึ่งเรียกว่าการชดเชยกระแส ซึ่งจะอภิบายในภายหลัง

คุณลักษณะอิมพี่แดนซ์ของโช้คจะสัมพันธ์กับ ความถี่ที่สร้างขึ้น ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่น่าสนใจสำหรับการกำจัดสัญญาณ โดยอิมพีแดนซ์จะเพิ่มขึ้นที่ความถี่สูงขึ้น ในทางทฤษฎีอิมพีแดนซ์ควรจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามความถี่ที่เพิ่มขึ้น แต่ในโช้คจริงๆ จะรวมค่าความจุไฟฟ้าระหว่างขดลวดที่ได้ทำการพันขึ้นด้วย เมื่อเพิ่มความถี่ขึ้นไปจนถึงจุดเรโซแนนซ์ อิมพีแดนซ์ของโช้คจะย้อนกลับตกลงมา ซึ่งสามารถเขียนได้ ดังรูปต่อไปนี้
โช้คสามชนิดหลักอาจจะถูกใช้สำหรับเป้าหมายของการกำจัด สัญญาณรบกวนมีดังนี้
  • CM โช้คเป็นการพันขดลวดเพื่อหลีกเลี่ยงการอิ่มตัว (สูญเสียสภาพการเหนี่ยวนำไฟฟ้า) ของวัสดุแกน
  • โช้คที่มีการอิ่มตัว เป็นแนวคิดสำหรับการลดประจุกระแสอย่างรวดเร็ว
  • โช้คแกนแบบแท่ง ใช้สำหรับโช้คที่ต้องการค่าความเหนี่ยวนำคงที่ที่กระแสสูงๆ
CM โช้ค (ซีรี่ส์ RN, RD และ EV/EH) ถูกใช้ในการลดทอนสัญญาณ CM หรือสัญญาณรบกวนแบบไม่สมมาตร (P/N -> E) โดยต่ออนุกรมสายเฟสและนิวทรอลของสายไฟฟ้า AC ด้านอินพุต โดยสนามแม่เหล็กเกิดขึ้นโดยเทคนิคการพันขดลวดที่ทำให้กำจัดสัญญาณอื่นๆ ออกไปค่าความเหนี่ยวนำไฟฟ้าเต็มพิกัดจะแสดงในกรณีที่มีสัญญาณรบกวนที่ไหลแบบ ไม่สมมาตรจากเฟส/นิวทรอล ลงไปสู่ดิน
องค์ประกอบที่สมมาตรกันของสัญญาณรบกวนก็ สามารถที่จะถูกลดทอนได้เช่นกันโดยค่าความเหนี่ยวนำรั่วไหล (Leakage inductance) ของขดลวดที่ความถี่ของแหล่งจ่ายไฟฟ้ากำาลังจะไม่มีค่าของอิมพีแดนซ์ของโช้ค เกิดขึ้น ผลลัพธ์ในทางปฏิบัติ แรงดันไฟฟ้าตกค่อมที่ช็คจะเป็นศูนย์โดยธรรมดาทั่วไปการใช้งานโช้คจะทำการต่อ ร่วมกันกับตัวเก็บประจุ

กำจัดสัญญาณรบกวน โดยหน้าที่ของโช้คเป็น ดังต่อไปนี้
  • ในวงจรควบคุมมุมเฟส จะไม่สามารถกำจัดสัญญาณรบกวนได้โดยการใช้โช้คแบบอิ่มตัวเพียงอย่างเดียว
  • สำหรับทำการกำจัดสัญญาณรบกวนที่มีระดับสูงๆ จากเครื่องกำเนิดอัลตร้าโซนิคตัวเรียงกระแสความเร็วสูง การทำงานของอุปกรณ์สวิตซ์ของเครื่องมือหลัก
  • สำหรับเครื่องมือที่ไม่มีการต่อลงดิน
  • สำหรับอินพุตฟิลเตอร์ ในการป้องกันวงจรดิจิตอลจากสัญญาณรบกวนที่มาจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าหลัก
โช้คชนิดอิ่มตัว (ชนิด RI) เปลี่ยนอิมพีแดนซ์ที่จังหวะของการสวิตชิ่งและสามารถที่จะใช้ในการลดทอน สัญญาณรบกวนแบบ RM หรือแบบสมมาตร (P->N) ซึ่งสร้างโดยอุปกรณ์ควบคุมมุมเฟส ตัวอย่างเช่น ไธริสเตอร์ (thyistor) และไตรแอค (triac) ระดับของสัญญาณรบกวนที่สามารถจะนำออกมาได้ ต้องอยู่ภายในขีดจำกัดของข้อบังคับของประเทศ และระดับนานาชาติ โดยการใช้โช้คในการต่อร่วมกันกับตัวเก็บประจุกำจัดสัญญาณที่เหมาะสม สำาหรับการลดทอนที่เป็นผลดีที่สุด โช้คต้องต่อให้ใกล้กับอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำาของอุปกรณ์สวิตซ์มากที่สุดเท่า ที่เป็นไปได้ วงจรกำจัดสัญญาณอย่างง่ายแบบชั้นเดียว ได้แสดงตามรูปข้างล่าง โดยสามารถที่จะทำเป็นฟิลเตอร์สองชั้นได้โดยตัวโหลดเอง และโดยการเพิ่มตัวเก็บประจุไปอีกหนึ่งตัว

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ ::
แผนก ED & C : บริษัท เอส.ที.คอนโทรล จำกัด
Tel. (02) 717 3455, 319 1400 (Auto)
Fax : (02) 717 3434
Website : http://www.stcontrol.com


(บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ ห้ามไม่ให้มีการคัดลอกข้อความบางส่วน หรือทั้งหมดไปใช้ในเว็บไซต์อื่น
โดยมิได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการจากบริษัท เอส.ที.คอนโทรล จำกัด)

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Basics in EMC and Power ภาค 1


 

การกำจัดสัญญาณรบกวนในการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ความต้องการ
สำหรับการวางกฎระเบียบได้มีการสร้างมาตรฐาน และขั้นตอน ที่จะทำให้เป็นไปตามข้อกำหนดต่างๆ ขึ้นมากมายนับไม่ถ้วน นำมาซึ่งไม่เพียงแต่ความต้องการการทดสอบเท่านั้น แต่ยังมีการตรวจพิสูจน์การออกแบบเครื่องมือวัดและมีความประสงค์ที่จะพิจารณา การออกแบบลักษณะร่วมกันของการเกิดผลกระทบต่อ EMC และอุปกรณ์การกำจัดสัญญาณรบกวน 

แนวคิดของ EMCก่อน ที่จะมองไปที่วิธีการในการกำจัดสัญญาณรบกวนซึ่งมีวิธีแตกต่างกันไป สิ่งสำคัญต้องแตกประเด็นออกมา แต่ต้องยังคงความถูกต้องของความต้องการในหลักการของ EMC เสมอ โดยจะเริ่มต้นจากแนวคิดในการออกแบบ และไปสิ้นสุด ที่การนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ โดย EMC เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการออกแบบ เมื่อทุกๆ ผลิตภัณฑ์ได้นำไปใช้ และได้มีการสร้างฟังก์ชั่นการทำงานนี้ขึ้นมา เพื่อการแก้ไขปัญหา EMC ต่างๆ ที่เกิดขึ้นที่จุดนี้ EMC จะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ทั้งเสียเวลาและยากในการแก้ไข ดังนั้น ผู้ผลิตควรคำนึงถึงเสมอนับตั้งแต่เริ่มต้นในการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่อตรงไปที่ ไลน์ ส่วนด้านอื่นต่อไปที่ตัวถัง ผลลัพธ์ก็คือตัวเก็บประจุ EMC จะไม่มีผลของตัวนำที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการหลีกเลี่ยงจุดเรโซแนนซ์ 

การปิดกั้นสัญญาณ (Shielding)
จากจุดสำคัญของการออกกฎหมายและมาตรฐานจะพิจารณา EMC ที่อยู่โดยรอบนอกของเครื่องมือเท่านั้น สำหรับ EMC ภายในได้มีการพิจารณาการกระจายในระดับฟังก์ชั่น แต่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกฎระเบียบต่างๆ การปิดกั้นสัญญาณมีผลดีต่อการลดสัญญาณรบกวนแม่เหล็กไฟฟ้ารอบนอกของเครื่อง มือ โดยจะเป็นการเก็บสัญญาณรบกวนไว้ภายใน โดยการปิดกั้นสัญญาณสามารถที่จะนำไปใช้ในห้องหรือกล่อง และสายเคเบิลต่างๆ ได้ 

กล่องปิดกั้นสัญญาณ
สำหรับ เครื่องมือหลายๆ ชนิด โดยกล่องปิดกั้นสัญญาณได้กลายมาเป็นตัวชี้วัดโดยปกติของการลดสัญญาณรบกวน โครงปิดกั้นสัญญาณควรทำามาจากโลหะหรือวัสดุอื่นที่นำาไฟฟ้าได้ โดยปกติแล้วโครงห่อหุ้มจะมีการต่อลงกราวด์ เพราะว่าโครงห่อหุ้มที่ไม่ได้ต่อลงกราวด์จะทำให้มีค่าการลดทอนในการป้องกัน น้อยที่สุด การทาสีโครงห่อหุ้มบ่อยครั้งที่จะมีผลทำาให้โครงห่อหุ้มไม่สามารถกั้นสัญญาณ ได้ ถ้าสีที่ทาไม่เป็นสีที่ไม่นำพาไฟฟ้า ในส่วนที่มีการเปิดออกอยู่ตลอดเวลาของโครงห่อหุ้ม เช่น ประตูและอื่นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจะใช้นำาแกสเกท (Gaskets) มาใช้ในบริเวณนี้ ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำด้วยยางที่รับประกันการนำไฟฟ้าในระดับชั้น IP สีที่นำาไฟฟ้าและแกสเกทสามารถที่จะหาได้ แต่มีราคาแพงมาก

ทุกๆ ช่องทางของโครงห่อหุ้มจะทำตัวเหมือนเป็นสายอากาศ โดยที่ที่เป็นช่องทางในแนวนอน จะทำตัวเหมือนสายอากาศในแนวตั้ง และในแนวตั้งจะทำหน้าที่เหมือนสาอากาศในแนวนอน
โดยช่องทางออกสามารถที่จะเป็นช่องสำหรับระบายอากาศ แต่จุดสัมผัสระหว่างส่วนที่ไม่เป็นตัวนำของโครงห่อหุ้ม (สีทา) ถ้าเป็นจุดที่มีความเสี่ยงต่อ EMC ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของช่องและความยาวคลื่นของสัญญาณรบกวน ควรนำมาพิจารณา เพื่อที่จะนำไปสู่การลดทอนสัญญาณ ถ้ามีความจำเป็นสำหรับช่องทางออกพิเศษ EMC สีที่นำไฟฟ้าได้ และแกสเกทก็สามารถช่วยได้

เคเบิลที่ได้รับการปิดกั้น (Shielded cables)
สายเคเบิลที่มี การปิดกั้นสัญญาณจะเป็นประโยชน์มากต่อการป้องกันความอ่อนไหวและลดสัญญาณที่ แพร่ออกมา อย่างไรก็ตามการติดตั้งที่ไม่ถูกต้องก็สามารถที่จะลดประสิทธิผลลง หรือเกิดเหตุในการทำลายผลตรงต่อการปิดกั้นสัญญาณโดยบริบูรณ์ แรงดัน และกระแสไฟฟ้าภายนอกไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อสายสัญญาณที่ได้รับการปิดกั้น โดยรอบของสายเคเบิลเท่านั้น การรบกวนที่แพร่ไปยังตัวนำภายในถูกลดทอนลงไป ประสิทธิผลการปิดกั้นสัญญาณ สามารถที่จะอธิบายในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างกระแสบนตัวปิดกั้น (Shield) และการเหนี่ยวนำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าบนตัวนำภายใน
การลดทอนของการปิดกั้นขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาใช้และการติดตั้งโดยค่าที่ ดีที่สุดจะอยู่ในรูปของท่อร้อยสาย แต่ก็มีความจำเป็นในบางกรณีเท่านั้น ฟิล์มโลหะหรือสายถักสามารถใช้ได้ดีพอสำหรับการนำไปใช้ธรรมดาทั่วไป สำหรับการติดตั้งที่มีความเสี่ยง สามารถใช้สายถักสองชั้นหรือชิลด์ที่แยกกันสองชั้นในการติดตั้ง

ถ้าสายชีลด์ได้ถูกนำมาใช้ ที่ปลายของสายชีลด์ต้องมีการต่อกราวด์ ถ้าไม่ต่อที่ปลายสายชีลด์ การชีลด์จะไม่เป็นผล ซึ่งการเหนี่ยวนำจากสนามจะไม่สามารถที่จะไปยังกราวด์ได้และกระแสกราวด์ก็ไม่ สามารถลดลงได้ ถ้าสายชีลด์ได้มีการต่อเพียงด้านเดียวเท่านั้น สายชีลด์ก็จะกลายมามีผลเทียบเท่ากับสนามไฟฟ้าได้ อย่างไรก็ตามการเกิดเรโซแนนซ์ที่ความถี่ใด ความถี่หนึ่งขึ้นมาในสายชีลด์ได้เพิ่มขึ้นมา การชีลด์ก็จะไม่เป็นผล และสามารถเกิดเป็นตัวขยายสัญญาณได้ ถ้าที่ปลายสายทั้งสองด้านของสายชีลด์ได้ต่อลงกราวด์ จะเป็นผลดีต่อการชีลด์เป็นอย่างมาก สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กก็จะถูกลดลงได้ ซึ่งความต่างศักดิ์ไฟฟ้าจะไม่มีผลกระทบต่อสายสัญญาณได้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากความต่างศักย์ไฟฟ้าในสายชีลด์ผลก็จะทำให้เกิดกระแสบน สายชีลได้ สายอื่นๆ ก็จะได้รับผลกระทบด้วย
เพื่อความสมบูรณ์ในการชีลด์ ความจะแตกประเด็นออกมาอีก การเชื่อมต่อสายชีลด์ ดังแสดงในรูปด้านบน สามารถที่จะเป็นการสร้างกราวน์ลูปเพิ่มเข้ามา ถ้าเกิดปัญหาเพิ่มขึ้นมา สามารถการชดเชย ด้วยตัวนำระหว่างสองอุปกรณ์ หรือทำการเพิ่มแผ่นที่ต่อลงกราวด์ตามความยาวสายชีลด์ลงไป การเชื่อมต่อกราวด์ที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน

การเชื่อมต่อกราวด์ที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกันสำหรับประสิทธิภาพในการชีลด์
ปัญหาธรรมดาทั่วไปทั้งหมดกับการเชื่อมต่อของสายชีลด์ การใช้ “ส่วนที่ยื่นออกมาของสาย (pigtails) “ดังแสดงในด้านซ้ายมือของรูปด้านล่างนี้ สายชีลด์ต้องตีเกลียวให้เป็นสายเดียวกัน และหลังจากนั้นต่อไปที่กราวด์ที่จุดเดียวเท่านั้น การต่อแบบนี้เป็นการเพิ่มความต้านทานการส่งผ่านของสายชีลด์ และเป็นการลดประสิทธิภาพของการชีลด์ด้วยการเชื่อมต่อที่ดีที่สุดของสายชีลด์ ต้องเชื่อมในแนว 36 องศา ที่ปลายทั้งสองด้าน 360 ดังแสดงทางด้านขวามือของรูปข้างล่างนี้
ติดตามอ่าน Part 2 เร็วๆ นี้ค่ะ

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ ::
แผนก ED & C : บริษัท เอส.ที.คอนโทรล จำกัด
Tel. (02) 717 3455, 319 1400 (Auto)
Fax : (02) 717 3434
Website : http://www.stcontrol.com

(บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ ห้ามไม่ให้มีการคัดลอกข้อความบางส่วน หรือทั้งหมดไปใช้ในเว็บไซต์อื่น
โดยมิได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการจากบริษัท เอส.ที.คอนโทรล จำกัด)

วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แมกเนติกคอนแทกเตอร์ (Magnetic Contactor)

Fuji Magnetic Contactor
แมกเนติกคอนแทกเตอร์ (Magnetic Contactor)
เป็นอุปกรณ์ที่อาศัยการทำงานโดยอำนาจแม่เหล็กในการเปิด - ปิดหน้าสัมผัสในการควบคุมวงจรมอเตอร์ หรือเรียกว่าสวิตช์แม่เหล็ก (Magnetic Switch) หรือคอนแทคเตอร์ (Contactor) ก็ได้

ข้อดีของการใช้รีเลย์และแมคเนติกส์คอนแทคเตอร์ เมื่อเทียบกับสวิตช์อื่น
  1. ให้ความปลอดภัยสำหรับผู้ควบคุมสูง
  2. ให้ความสะดวกในการควบคุม
  3. ประหยัดเมื่อเทียบกับการควบคุมด้วยมือ
โครงสร้างและส่วนประกอบของแมคเนติกคอนแทกเตอร์ หรือสวิตช์แม่เหล็ก แมคเนติกคอนแทคเตอร์ยี่ห้อใด รุ่นใดจะต้องมีโครงสร้างหลักที่สำคัญเหมือนกัน ดังนี้
  1. แกนเหล็ก
  2. ขดลวด
  3. หน้าสัมผัส
รายละเอียดของส่วนประกอบภายในแมคเนติคคอนแทคเตอร์
แกนเหล็กแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
  1. แกนเหล็กอยู่กับที่ (Fixed Core) จะมีลักษณะขาทั้งสองข้างของแกนเหล็ก มีลวดทองแดงเส้นใหญ่ต่อลัดอยู่เป็นรูปวงแหวนฝังอยู่ที่ผิวหน้าของแกน เพื่อลดการสั่นสะเทือนของแกนเหล็ก อันเนื่องมาจากการสั่นสะเทือนไฟฟ้ากระแสสลับ เรียกวงแหวนนี้ว่า เช็ดเด็ดริ่ง (Shaddedring)
  2. แกนเหล็กเคลื่อนที่ (Stationary Core) ทำด้วยแผ่นเหล็กบางอัดซ้อนกันเป็นแกน จะมีชุดหน้าสัมผัสเคลื่อนที่ (Moving Contact) ยึดติดอยู่

ขดลวด (Coil) ขดลวดทำมาจากลวดทองแดงพันอยู่รอบบอบบิ้นสวมอยู่ตรงกลางของขาอีกตัวที่อยู่ กับที่ ขดลวดทำหน้าที่สร้างสนามแม่เหล็กมีขั้วต่อไฟเข้าใช้สัญญลักษณอักษรกำกับ คือ A1- A2 หรือ a-b
หน้าสัมผัส (Contac) หน้าสัมผัสจะยึดติดอยู่กับแกนเหล็กเคลื่อนที่ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
  1. หน้าสัมผัสหลัก หรือเรียกว่า เมนคอนแทค (Main Contac) ใช้ในวงจรกำลังทำหน้าที่ตัดต่อระบบไฟฟ้าเข้าสู่โหลด
  2. หน้าสัมผัสช่วย (Auxiliary Contac) ใช้กับวงจรควบคุมหน้าสัมผัสช่วยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
  • หน้าสัมผัสปติเปิด (Normally Open : N.O.)
  • หน้าสัมผัสปกติปิด (Normally Close : N.C.)
ส่วนประกอบภาพนอก
ส่วนที่เป็นหน้าสัมผัสหลัก (MainContac) มีสัญญลักษณ์อักษรกำกับบอกดังนี้
  • หน้าสัมผัสหลักคู่ที่1 1/L1 - 2/T1
  • หน้าสัมผัสหลักคู่ที่2 3/L2- 4/T2
  • หน้าสัมผัสหลักคู่ที่3 5/L3- 6/T3

หมายเลข 1 เป็นจุดต่อไฟฟ้้าเข้าหน้าสัมผัสหลัก มีสัญญลักษณ์อักษรกำกับคือ 1/L1 3/L2 และ 5/L3
หมายเลข 2 เป็นจุดต่อไไฟฟ้้าเข้าหน้าสัมผัสหลัก มีสัญญลักษณ์อักษรกำกับคือ 2/T1 4/T2 และ 6/T3
หมายเลข 3 ปุ่มทดสอบหน้าสัมผัส
เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปยังขดลวดสนามแม่เหล็กที่อยู่ขากลางของแกน เหล็ก ขดลวดจะสร้างสนามแม่เหล็กที่แรงสนามแม่เหล็กชนะแรงสปริงดึงให้แกนเหล็กชุด ที่เคลื่อนที่เคลื่อนที่ลงมาในสภาวะนี้ (ON) คอนแทคทั้งสองชุดจะเปลี่ยนสภาวะการทำงานคือ คอนแทคปกติปิดจะเปิดวงจรจุดสัมผัสออก และคอนแทคปกติเปิดจะต่อวงจรของจุดสัมผัส เมื่อไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าไปยังขดลวด สนามแม่เหล็กคอนแทคทั้งสองชุดจะกลับไปสู่สภาวะเดิม

ชนิดและขนาดของแมคเนติกคอนแทกเตอร์
คอนแทคเตอร์ที่ใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับ แบ่งเป็น 4 ชนิดตามลักษณะของโหลดและการนำไปใช้งานมีดังนี้

AC 1 : เป็นแมคเนติกคอนแทกเตอร์ ที่เหมาะสำหรับโหลดที่เป็นความต้านทาน หรือในวงจรที่มีอินดัดทีฟน้อยๆ
AC 2 : เป็นแมคเนติกคอนแทคเตอร์ ที่เหมาะสำหรับใช้กับโหลดที่เป็นสปริงมอเตอร์
AC 3 : เป็นแมคเนติกคอนแทคเตอร์ ที่เหมาะสำหรับใช้การสตาร์ทและหยุดโหหลดที่เป็นมอเตอร์กรงกระรอก
AC 4 : เป็นแมคเนติกคอนแทคเตอร์ ที่เหมาะสำหรับบการสตาร์ท - หยุดมอเตอร์วงจร jogging และการกลับทางหมุนมอเตอร์แบบกรงกระรอก
การพิจารณาเลือกไปใช้งาน ใน การเลือกแมคเนติกคอนแทคเตอร์ในการใช้งานให้เหมาะสมกับมอเตอร์นั้น จะพิจรณาที่กระแสสูงสุดในการใช้งาน (Reated Current) และแรงดันของมอเตอร์ ต้องเลือกแมคเนติกคอนแทคเตอร์
ที่มีกระแสสูงกว่ากระแสที่ใช้งาานของมอเตอร์ ที่มีแรงดันเท่ากัน ในการพิจรณาเลือกแมคเนติกคอนแทคเตอร์ใช้งานควรพิจรณาดังนี้
  • ลักษณะของโหลอดและการใช้งาน
  • แรงดันและความถี่
  • สถานที่ใช้งาน
  • ความบ่อยครั้งในการใช้งาน
  • การป้องกันจากการสัมผัสและการป้องกันนํ้า
  • ความคงทนทางกลและทางไฟฟ้า
รีเลย์ช่วยหรืออาจเรียกว่า รีเลย์ควบคุม (Contol Relay) การทำงานอาศัยอำนาจในการเปิด - ปิดหน้าสัมผัส เหมือนกับหลักการทำงานของแมคเนติกคอนแทคเตอร์ ต่างกันตรงที่รีเลย์ช่วยจะทนกระแสได้ตํ่า หน้าสัมผัสจะเล็กกว่าหน้าสัมผัสของแมคเนติกคอนแทกเตอร์ลักษณะของหน้าสัมผัส ของรีเลย์ช่วยมีสองชนิด ได้แก่ หน้าสัมผัสปกติเปิด (Normally Open : N.o.) และหน้าสัมผัสปกติปิด (Normally Close : N.C.) จำนวนหน้าสัมและชนิดของหน้าสัมผัสขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิตและการนำไปงาน
ที่มา : http://edu.e-tech.ac.th/

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ ::
แผนก ED & C : บริษัท เอส.ที.คอนโทรล จำกัด
Tel. (02) 717 3455, 319 1400 (Auto)
Fax : (02) 319 1800
Website : http://www.stcontrol.com