Hot Products

วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แมกเนติกคอนแทกเตอร์ (Magnetic Contactor)

Fuji Magnetic Contactor
แมกเนติกคอนแทกเตอร์ (Magnetic Contactor)
เป็นอุปกรณ์ที่อาศัยการทำงานโดยอำนาจแม่เหล็กในการเปิด - ปิดหน้าสัมผัสในการควบคุมวงจรมอเตอร์ หรือเรียกว่าสวิตช์แม่เหล็ก (Magnetic Switch) หรือคอนแทคเตอร์ (Contactor) ก็ได้

ข้อดีของการใช้รีเลย์และแมคเนติกส์คอนแทคเตอร์ เมื่อเทียบกับสวิตช์อื่น
  1. ให้ความปลอดภัยสำหรับผู้ควบคุมสูง
  2. ให้ความสะดวกในการควบคุม
  3. ประหยัดเมื่อเทียบกับการควบคุมด้วยมือ
โครงสร้างและส่วนประกอบของแมคเนติกคอนแทกเตอร์ หรือสวิตช์แม่เหล็ก แมคเนติกคอนแทคเตอร์ยี่ห้อใด รุ่นใดจะต้องมีโครงสร้างหลักที่สำคัญเหมือนกัน ดังนี้
  1. แกนเหล็ก
  2. ขดลวด
  3. หน้าสัมผัส
รายละเอียดของส่วนประกอบภายในแมคเนติคคอนแทคเตอร์
แกนเหล็กแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
  1. แกนเหล็กอยู่กับที่ (Fixed Core) จะมีลักษณะขาทั้งสองข้างของแกนเหล็ก มีลวดทองแดงเส้นใหญ่ต่อลัดอยู่เป็นรูปวงแหวนฝังอยู่ที่ผิวหน้าของแกน เพื่อลดการสั่นสะเทือนของแกนเหล็ก อันเนื่องมาจากการสั่นสะเทือนไฟฟ้ากระแสสลับ เรียกวงแหวนนี้ว่า เช็ดเด็ดริ่ง (Shaddedring)
  2. แกนเหล็กเคลื่อนที่ (Stationary Core) ทำด้วยแผ่นเหล็กบางอัดซ้อนกันเป็นแกน จะมีชุดหน้าสัมผัสเคลื่อนที่ (Moving Contact) ยึดติดอยู่

ขดลวด (Coil) ขดลวดทำมาจากลวดทองแดงพันอยู่รอบบอบบิ้นสวมอยู่ตรงกลางของขาอีกตัวที่อยู่ กับที่ ขดลวดทำหน้าที่สร้างสนามแม่เหล็กมีขั้วต่อไฟเข้าใช้สัญญลักษณอักษรกำกับ คือ A1- A2 หรือ a-b
หน้าสัมผัส (Contac) หน้าสัมผัสจะยึดติดอยู่กับแกนเหล็กเคลื่อนที่ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
  1. หน้าสัมผัสหลัก หรือเรียกว่า เมนคอนแทค (Main Contac) ใช้ในวงจรกำลังทำหน้าที่ตัดต่อระบบไฟฟ้าเข้าสู่โหลด
  2. หน้าสัมผัสช่วย (Auxiliary Contac) ใช้กับวงจรควบคุมหน้าสัมผัสช่วยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
  • หน้าสัมผัสปติเปิด (Normally Open : N.O.)
  • หน้าสัมผัสปกติปิด (Normally Close : N.C.)
ส่วนประกอบภาพนอก
ส่วนที่เป็นหน้าสัมผัสหลัก (MainContac) มีสัญญลักษณ์อักษรกำกับบอกดังนี้
  • หน้าสัมผัสหลักคู่ที่1 1/L1 - 2/T1
  • หน้าสัมผัสหลักคู่ที่2 3/L2- 4/T2
  • หน้าสัมผัสหลักคู่ที่3 5/L3- 6/T3

หมายเลข 1 เป็นจุดต่อไฟฟ้้าเข้าหน้าสัมผัสหลัก มีสัญญลักษณ์อักษรกำกับคือ 1/L1 3/L2 และ 5/L3
หมายเลข 2 เป็นจุดต่อไไฟฟ้้าเข้าหน้าสัมผัสหลัก มีสัญญลักษณ์อักษรกำกับคือ 2/T1 4/T2 และ 6/T3
หมายเลข 3 ปุ่มทดสอบหน้าสัมผัส
เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปยังขดลวดสนามแม่เหล็กที่อยู่ขากลางของแกน เหล็ก ขดลวดจะสร้างสนามแม่เหล็กที่แรงสนามแม่เหล็กชนะแรงสปริงดึงให้แกนเหล็กชุด ที่เคลื่อนที่เคลื่อนที่ลงมาในสภาวะนี้ (ON) คอนแทคทั้งสองชุดจะเปลี่ยนสภาวะการทำงานคือ คอนแทคปกติปิดจะเปิดวงจรจุดสัมผัสออก และคอนแทคปกติเปิดจะต่อวงจรของจุดสัมผัส เมื่อไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าไปยังขดลวด สนามแม่เหล็กคอนแทคทั้งสองชุดจะกลับไปสู่สภาวะเดิม

ชนิดและขนาดของแมคเนติกคอนแทกเตอร์
คอนแทคเตอร์ที่ใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับ แบ่งเป็น 4 ชนิดตามลักษณะของโหลดและการนำไปใช้งานมีดังนี้

AC 1 : เป็นแมคเนติกคอนแทกเตอร์ ที่เหมาะสำหรับโหลดที่เป็นความต้านทาน หรือในวงจรที่มีอินดัดทีฟน้อยๆ
AC 2 : เป็นแมคเนติกคอนแทคเตอร์ ที่เหมาะสำหรับใช้กับโหลดที่เป็นสปริงมอเตอร์
AC 3 : เป็นแมคเนติกคอนแทคเตอร์ ที่เหมาะสำหรับใช้การสตาร์ทและหยุดโหหลดที่เป็นมอเตอร์กรงกระรอก
AC 4 : เป็นแมคเนติกคอนแทคเตอร์ ที่เหมาะสำหรับบการสตาร์ท - หยุดมอเตอร์วงจร jogging และการกลับทางหมุนมอเตอร์แบบกรงกระรอก
การพิจารณาเลือกไปใช้งาน ใน การเลือกแมคเนติกคอนแทคเตอร์ในการใช้งานให้เหมาะสมกับมอเตอร์นั้น จะพิจรณาที่กระแสสูงสุดในการใช้งาน (Reated Current) และแรงดันของมอเตอร์ ต้องเลือกแมคเนติกคอนแทคเตอร์
ที่มีกระแสสูงกว่ากระแสที่ใช้งาานของมอเตอร์ ที่มีแรงดันเท่ากัน ในการพิจรณาเลือกแมคเนติกคอนแทคเตอร์ใช้งานควรพิจรณาดังนี้
  • ลักษณะของโหลอดและการใช้งาน
  • แรงดันและความถี่
  • สถานที่ใช้งาน
  • ความบ่อยครั้งในการใช้งาน
  • การป้องกันจากการสัมผัสและการป้องกันนํ้า
  • ความคงทนทางกลและทางไฟฟ้า
รีเลย์ช่วยหรืออาจเรียกว่า รีเลย์ควบคุม (Contol Relay) การทำงานอาศัยอำนาจในการเปิด - ปิดหน้าสัมผัส เหมือนกับหลักการทำงานของแมคเนติกคอนแทคเตอร์ ต่างกันตรงที่รีเลย์ช่วยจะทนกระแสได้ตํ่า หน้าสัมผัสจะเล็กกว่าหน้าสัมผัสของแมคเนติกคอนแทกเตอร์ลักษณะของหน้าสัมผัส ของรีเลย์ช่วยมีสองชนิด ได้แก่ หน้าสัมผัสปกติเปิด (Normally Open : N.o.) และหน้าสัมผัสปกติปิด (Normally Close : N.C.) จำนวนหน้าสัมและชนิดของหน้าสัมผัสขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิตและการนำไปงาน
ที่มา : http://edu.e-tech.ac.th/

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ ::
แผนก ED & C : บริษัท เอส.ที.คอนโทรล จำกัด
Tel. (02) 717 3455, 319 1400 (Auto)
Fax : (02) 319 1800
Website : http://www.stcontrol.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น